วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการค้าและการตลาดระหว่างประเทศ

   การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยาก
   ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงจำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ

    สรุปคือการค้าระหว่างประเทศคือ การทำการค้าเพื่อพึ่งพาอาศัยกัน ไม่มีประเทศใดที่จะไม่แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างกันต้องมีการนำเข้าส่งออกจากต่างประเทศอยู่เสมอเพราะด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่ไม่สามารถทำให้แต่ละประเทศผลิตสินค้าและบริการได้เหมือนๆกันและมีหรืออาจจะมีแต่ดีไม่สู้ประเทศอื่น จึงทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศขึ้น

   สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association: AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)

        มีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศไว้อีกว่า การตลาดระหว่างประเทศคือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
            ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ

  สรุปคือ การตลาดระหว่างประเทศ เป็นกลยุทธ์หนึ่ง ต้องมีการวางแผนจัดทำแผนการตลาด ใครมีความสามารถในการทำการตลาดและสามารถดึงดูดตลาดใหม่ได้ดีกว่าก็จะได้เปรียบในตลาดคู่แข่ง

   กล่าวคือการตลาดเป็นหลักการ วิธีการ เพื่อที่จะนำมาทำการค้าระหว่างกัน การค้ากับการตลาดระหว่างประเทศจึงมีความสัมพันธ์กันและควบคู่กันไป

3 ความคิดเห็น: